Last updated: 28 ม.ค. 2564 | 1694 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคกระดูกพรุนกลายเป็นโรคที่มักเจอในผู้สูงอายุของสังคมไทย โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะที่เนื้อกระดูกผุกร่อนไปจากเดิม ระยะแรกผู้เป็นจะไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคกระดูกพรุน เนื่องจากจะไม่มีการแสดงอาการ อาการทั่ว ๆ ไปที่มักพบ ได้แก่ ปวดหลัง และอาการปวดจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีกระดูกสันหลังยุบตัว ทำให้หลังค่อมได้ โดยมากมักพบในกระดูกชิ้นใหญ่ ๆ ได้แก่ กระดูกสันหลัง ข้อมือ และสะโพก
สาเหตุการเกิดโรคกระดูกพรุน
มียาหลายชนิดที่รักษาโรคกระดูกพรุนได้ หนึ่งในนั้นก็คือ แคลเซียม แคลเซียมมีหน้าที่สร้างความแข็งแรงของกระดูก และฟัน ในร่างกายมักจะดูดซึมแคลเซียมได้ในปริมาณที่ไม่มาก ทำให้ร่างกายอาจได้รับปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งคนเราควรได้รับปริมาณแคลเซียม 800-1,000 มิลลิกรัม/วัน
หากต้องการกินแคลเซียมเพื่อรักษา และป้องกันภาวะกระดูกพรุน ปริมาณที่แนะนำให้กิน คือแคลเซียมวันละ 1,200 มิลลิกรัม โดยมักจะแนะนำให้กินร่วมกับวิตามินดี ซึ่งวิตามินดีจะทำให้แคลเซียมถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น
นอกจากนี้ควรเลือกกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม ปลาซิว ถั่วเหลือง อาหารทะเล ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า (แต่ควรหลีกเลี่ยงการกินผักโขม ปวยเล้ง ใบชะพลู หน่อไม้ ผักแพว เนื่องจากผักจำพวกนี้มีปริมาณ กรดออกซาลิกสูง ซึ่งจะทำให้แคลเซียมไม่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้)
การป้องกันโรคกระดูกพรุน ควรเริ่มตั้งแต่วัยรุ่น หรือวัยก่อนหมดประจำเดือน คือ
30 ต.ค. 2567
4 ก.ย. 2567
15 ต.ค. 2567
1 ต.ค. 2567