Last updated: 19 พ.ค. 2564 | 973 จำนวนผู้เข้าชม |
ในช่วงที่วิกฤติของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ยังโหมกระหน่ำระบาดอยู่เป็นระลอกที่ 2 รวมถึงปัญหา PM2.5 อีก เราจึงควรรีบเสริมภูมิต้านทานร่างกายให้แข็งแรง โดยเฉพาะการบำรุงการทำงานของปอด เพราะปอดเป็นอวัยวะสำคัญของระบบทางเดินหายใจ
ปอด (Lung; Chinese: 肺; pinyin: fèi) เป็นอวัยวะหนึ่งที่สำคัญมากต่อระบบหายใจ อยู่ภายในทรวงอกทั้ง 2 ข้าง หน้าที่หลักคือ แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนที่เราสูดหายใจ แล้วขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาด้วยการหายใจออกเพื่อกรองของเสีย
ตามทฤษฎีของแพทย์แผนจีน “ปอด” เป็นธาตุโลหะ ซึ่งธาตุโลหะทำงานเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก ปอดจึงเป็นเหมือนเจ้าแห่งลมปราณ คอยควบคุมการไหลเวียนลมปราณทั่วร่างกาย และยังมีหน้าที่จัดการการไหลเวียนของน้ำ เลือด และสารอาหาร ส่งไปทั่วร่างกายให้สมดุล
คนจีนมีคำเปรียบเทียบว่า “ปอดเปรียบเหมือนรัฐมนตรี มีหน้าที่จัดการบริหาร” โดยควบคุมการหายใจ ควบคุมทิศทางการไหลเวียนของลมปราณ โดยมีทิศทางขึ้น-ลง เข้า-ออกแน่นอน ช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกาย ควบคุมการไหลเวียนน้ำ และรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย
ส่วนสาเหตุของอาการปอดป่วยหรือปอดทำงานไม่สมบูรณ์ เกิดจากร่างกายมีเสลดหรือของเหลวจำนวนมากไปขวางการทำงานของระบบหายใจ ส่งผลให้หายใจติดขัดและภูมิต้านทานร่างกายลดลง
ดั้งนั้น เราถึงควรหันมาบำรุงและเสริมพลังปอด เหมือนเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ปอด เป็นการสร้างเกาะป้องกันเพื่อให้ภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรง หมดมีวิธีการเสริมด้วยวิธีธรรมชาติจากอาหารและสมุนไพรที่มีอยู่รอบตัวเรามาฝาก
ในตำราจีน สมุนไพรหรืออาหารใดที่มีสีหรือลักษณะรูปร่างคล้ายอวัยวะชนิดใดจะมีสรรพคุณช่วยบำรุงอวัยวะนั้นได้ อาหารและสมุนไพรที่ช่วยบำรุงการทำงานของปอดจึงมักเป็นของที่มีสีขาวนวลๆ เป็นหลัก เพราะเป็นของธาตุเย็นแห้งซึ่งช่วยบำรุงโลหะได้ดี
หมอขอแบ่งเป็น 4 หมวดหมู ดังนี้ค่ะ
4 กลุ่มอาหารช่วยบำรุงปอดแข็งแรง
1. กลุ่มบำรุงปอด เน้นกระจายพลัง อาหารกลุ่มนี้จะช่วยบำรุงปอดให้แข็งแรง เสริมภูมิคุ้มกันและช่วยกระจายพลังงานของปอด โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคหืด ภูมิแพ้ คนที่พลังงานปอดมีไม่พอ ไม่มีแรง เหนื่อยง่าย รู้สึกอ่อนเพลียเป็นประจำ มีอาการใจสั่น คนที่มักเป็นหวัดง่าย หรือคนที่มีปัญหาด้านอารมณ์เศร้าบ่อยๆ นั้นเป็นอาการของคนที่มีพลังงานชี่ในปอดไม่เพียงพอ
ตัวอย่างอาหารเน้นกระจายพลังงานในปอด เช่น กระเทียม (Garlic) มีสารอัลลิซิน (Allicin) ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลและยังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งเกือบทุกชนิดได้เป็นอย่างดี แปะเจีย (Bai Shao) คือรากของดอกโบตั๋นขาว (White Peony Root) มีสรรพคุณช่วยบำรุงปอดและบำรุงเลือด กะหล่ำดอก (Cauliflower) ข้าว ข้าวโอ๊ต หัวมันฝรั่ง (Sweet Potato) และพวกปลาเนื้อขาว ปลาเฮร์ริง ปลากะพง ฯลฯ
2. กลุ่มบำรุงปอดม้าม เน้นสร้างพลังงาน กลุ่มอาหารบำรุงพลังงานม้ามมีสรรพคุณช่วยระบายความร้อนและไล่ความชื่นออกจากม้าม ม้ามสร้างพลังงานชี่ ซึ่งจะไปสร้างพลังงานให้ปอดด้วย หลักการคือสร้างพลังจากม้ามแล้วให้ปอดกระจายพลังงานชี่ไปทั่วร่างกาย
อาหารกลุ่มนี้จะเป็นอาหารที่ย่อยง่ายและช่วยเสริมพลังงานให้ร่างกาย ช่วยขจัดความอ่อนล้า เช่น ฮ่วยซัว (Shan Yao) ปักคี้ (Huang Qi) พุทราจีน (Da Zao) ลูกเดือย (Yi Yi Ren) เม็ดบัว (Lian Zi) เก๋ากี้ (Gou Zi) บ๊วย มะพร้าว ธัญพืชก็บำรุงม้ามได้ดี เช่น ข้าวขาว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต เกาหลัด กระจับ เผือกหอม เผือกหัวเล็ก มันเทศ รากบัว ฟักทอง พริกหวานสีเหลือง ถั่วงอกหัวโต (ที่เพาะจากถั่งเหลือง) ดอกไม้จีน ข้าวโพดอ่อน กุยช่ายขาว ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้แผ่นสีเหลือง เต้าหู้อ่อน เต้าหู้ทอด เต้าหู้พวง ฟองเต้าหู้ เต้าหู้ยี้ น้ำเต้าหู้ เต้าหวย เป็นต้น
3. กลุ่มช่วยลดเสลด ลดเสมหะในปอด อาการของคนมีเสลดในปอดเยอะหรือร่างกายไม่ระบายความร้อนออกมา ยกตัวอย่างเช่น คนที่มีน้ำมูกใสๆ แล้วไอแบบมีเสลด หรือคนที่มีน้ำมูกขุ่นในลำคอตลอดเวลา มักหายใจหอบเหนื่อย ตัวบวมน้ำ อ้วนง่าย บางคนมีอาการด้านอารมณ์บ้าง เช่น โกรธง่าย เหวี่ยงวีน ร่างกายหนืดขยับและเคลื่อนไหวร่างกายช้า ไม่คล่องตัว
อาหารกลุ่มนี้จะช่วยลดเสลดในปอดและช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ ควรกินอาหารที่ย่อยง่าย สำหรับศาสตร์จีนอาหารที่มีน้ำเยอะๆ ผสมอยู่จะช่วยลดเสลดและการไอได้ อย่างเช่น ลูกแพร์ หัวไช้เท้า หอมหัวใหญ่ แห้ว มันแกว บัวหิมะ กระเทียม เห็ด ขิง วอลนัท อัลมอนด์ บรอกโคลี โดยเฉพาะงาขาว ซึ่งมีสรรพคุณบำรุงปอดเป็นหลัก ช่วยลดความแห้งของปอดลง ลดอาการไอ เพราะในงาขาวมีน้ำมันช่วยทำให้ปอดชุ่มชื้น เพราะฉะนั้นจึงช่วยเรื่องของอาการไอแห้งๆ ได้ดี
การที่มีระบบย่อยไม่สมบูรณ์ก็สามารถสร้างเสลดในร่างกายได้และเป็นสาเหตุให้ร่างกายป่วย ขิงซึ่งมีฤทธิ์อุ่น มีสรรพคุณช่วยเรื่องระบบย่อย การระบาย และอุ่นกระเพาะเป็นหลักจึงตอบโจทย์ พอระบบย่อยทำงานดี เผาผลาญหมด ก็จะไม่มีเสลดเกิดขึ้น
แพทย์แผนปัจจุบันก็มีงานวิจัยเรื่องขิงว่าช่วยลดเสลด ลดไอ โดยเฉพาะการไอที่มีเสลดน้ำเยอะๆ นอกจากนี้ขิงยังลดอาการคลื่นไส้ แก้อาเจียนได้ด้วย ส่วนกลุ่มตระกูลหอมหัวใหญ่และกระเทียมก็ช่วยย่อยและลดเสลดได้ดีเช่นกัน
4. กลุ่มลดความร้อน ช่วยปอดทำงานได้ดี ถ้าปอดมีความร้อนสูงร่ายกายจะมีไข้ ไอแห้งๆ และหิวน้ำผิดปกติ หรือบางคนมีน้ำมูกทีออกเหลือง เรียกว่ามีความร้อนเกินในปอด สาเหตุมาจากปอดติดเชื้อ หรือถ้ามีความร้อนในปอดเรื้อรังเป็นเวลานาน เรียกว่าปอดหยินพร่อง ปอดมีน้ำหล่อเลี้ยงลดน้อยลง จึงทำให้หิวน้ำบ่อย ทางด้านอารมณ์หงุดหงิดง่าย เหวี่ยงง่าย มีอาการใจร้อน
อาหารกลุ่มที่ช่วยลดความร้อนในปอด เช่น สาหร่ายทะเล ส้ม แอ๊ปเปิ้ล แพร์ พีช มะเขือเทศ กล้วย เต้าหู้ ไข่ หอยนางรม บัวหิมะ มหาหงส์ กะหล่ำปลี กะหล่ำขาว เต้าหู้ขาว ผักใบเขียว หน่อไม้ และที่สำคัญต้องกินของอุณหภูมิปกติ ไม่ร้อนจนเกินไป เพื่อช่วยไล่ความร้อนออกจากร่างกายได้เร็ว
สิ่งที่ควรงดเด็ดขาดคือ กาแฟ เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อไก่ และขิง เพราะมีสรรพคุณช่วยให้ปอดเกิดความร้อน คนจีนจะไม่ให้กินของสรรพคุณร้อนในขณะที่มีความร้อนในร่างกาย
สูตรลับกับเทคนิคบำรุงปอดแข็งแรง
อาการ
ความร้อนในปอด
ไข้, ไอแห้ง, น้ำมูกเหลือง,
กระหายน้ำ
อาการเสลดในปอด
ไอ, น้ำมูกเหลว, เสลด,
หายใจสั้นๆ, หอบหืด
อาการพลังงานปอดพร่อง
เหนื่อยง่าย, หายใจสั้นๆ,
เป็นหวัดง่าย, ภูมิแพ้
อาหารหยินปอดพร่อง
ไอเรื้อรังเป็นปี, ไอแห้ง,
มีไข้ต่ำๆ ช่วงบ่าย, อ่อนแอ อาหารที่ควรกิน
แคนตาลูป, ลูกแพร์, แอ๊ปเปิ้ล, พลับ,
มะนาว, แรดิช, แห้ว, กระหล่ำดอก
เมล็ดแฟลกซ์, เมล็ดเจีย, เห็ดทุกชนิด,
กระเทียม, สาหร่ายทะเล
ข้าว, แครอต, ข้าวโอ๊ต, ปลาเนื้อขาว,
รากชะเอมเทศ, ลูกเดือย, มันหวาน
สาหร่ายทะเล, แอ๊ปเปิ้ล, กล้วย, ไข่,
หอบนางรม, ส้ม, ลูกแพร์, เต้าหู้ อาหารห้ามกิน
กาแฟ, กระเทียม, หัวหอม, ขิง
ของทอด, อาหารมัน, ของย่อยยาก
ส้ม, มะนาว, อาหารดองเค็ม,
ผลิตภัณฑ์จากนมวัว
ของขม, มะระ, ของร้อนจัด
นอกจากอาหารแล้วเราต้องออกกำลังกายเสริมการทำงานของปอดควบคู่ไปด้วย เช่น เดินแกว่งแขน การฝึกหายใจเข้าลึก ออกยาวที่ช่วยให้ปอดขยายได้เต็มความสามารถ และดื่มน้ำให้เพียงพอค่ะ☺
ที่มา: กรมสุขภาพจิต
เรื่องโดย แพทย์หญิงศรันยา สาครินทร์ แพทย์แผนปัจจุบัน เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและการรักษาโรคทั้งศาสตร์ตะวันออกและตะวันตก
30 ต.ค. 2567
1 ต.ค. 2567
15 ต.ค. 2567
4 ก.ย. 2567