Last updated: 18 ธ.ค. 2566 | 253 จำนวนผู้เข้าชม |
วันนี้เว็บไซต์ของเรามีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับการรับประทานอาหารในช่วงเป็นประจำเดือนมาฝากสาว ๆ กันค่ะ ซึ่งสาว ๆ หลายคนต้องถูกใจบทความนี้แน่นอน จะมีข้อมูลดี ๆ อะไรบ้าง มาเริ่มกันเลยค่ะ
ประจำเดือนส่งผลต่อร่างกายอย่างไร
อาหารส่งผลต่อประจำเดือนอย่างไร
อาหารไม่มีผลโดยตรงกับมดลูก เพราะอาหารที่ทานนั้นผ่านลงสู่กระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งไม่ได้เชื่อมต่อกับมดลูก แต่อาหารบางอย่างอาจมีผลต่ออาการต่าง ๆ ที่เกิดช่วงก่อนและขณะมีประจำเดือนได้ ดังนั้นจึงควรเลือกอาหารที่เหมาะสมเพื่อลดอาการเหล่านั้น
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงช่วงมีประจำเดือน
1. อาหารเค็ม / เกลือ
การกินเกลือหรืออาหารเค็มมากเกินไปทำให้น้ำในร่างกายคั่ง ตัวบวม และท้องอืดได้
2. ของหวาน / อาหารน้ำตาลสูง
หากทานมากเกินไปจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดแกว่ง และทำให้อารมณ์แปรปรวน
3. แอลกอฮอล์
แอลกอฮอล์ทำให้ร่างกายขาดน้ำ อาจทำให้ปวดศีรษะ และท้องอืดตามมาได้
4. อาหารรสจัด / เผ็ด
อาหารรสเผ็ด ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ไม่ได้มีผลต่อมดลูกโดยตรง แต่อาจทำให้ร้อนท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ ซึ่งส่งผลต่ออาการช่วงมีประจำเดือนได้
5. เนื้อสัตว์ / เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู
มีธาตุเหล็ก ช่วยทดแทนเลือดที่เสียไป แต่มีสารโพรสตาแกลนดิน (prostaglandins) มากเช่นกันซึ่งอาจทำให้มดลูกบีบตัวและปวดประจำเดือนได้
แล้วสาว ๆ มีความเชื่อเรื่องอาหารกับประจำเดือนกันบ้างไหมคะ เช่น ห้ามทานน้ำเย็นช่วงมีประจำเดือน หรือไม่ควรดื่มน้ำมะพร้าวช่วงมีประจำเดือน ถ้าใครมีความเชื่อเหล่านี้ เราจะมาไขข้อข้องใจกันค่ะ ว่าสิ่งที่สาว ๆ เชื่ออยู่นั้นเป็นจริงหรือไม่
ความเชื่อผิด ๆ เรื่องอาหารกับประจำเดือน
1. ไม่ควรทานน้ำเย็นหรือน้ำแข็งช่วงมีประจำเดือน
ความเชื่อ: ไม่ควรทานน้ำเย็นหรือน้ำแข็งช่วงมีประจำเดือน เพราะบางคนเชื่อว่า อาจทำให้ปวดประจำเดือนมากขึ้น และจะขับเลือดออกมาได้ไม่หมด
ความจริง: น้ำเย็นหรือน้ำแข็งไม่ส่งผลใด ๆ ต่อประจำเดือน เพราะประจำเดือนคือเลือดที่ออกมาจากมดลูก อาการปวดประจำเดือนคืออาการปวดท้อง อันเนื่องมาจากการบีบตัวของมดลูก ดังนั้นน้ำเย็นหรือน้ำแข็งจึงไม่ทำให้ปวดท้องประจำเดือน อย่างไรก็ตามลักษณะร่างกายของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน
2. น้ำมะพร้าวทำให้ประจำเดือนผิดปกติและทำให้ปวดประจำเดือน
ความเชื่อ: การดื่มน้ำมะพร้าวจะทำให้ประจำเดือนผิดปกติ และทำให้ปวดประจำเดือน
ความจริง: กลไกการปวดประจำเดือนเกิดจากการบีบตัวของมดลูก ซึ่งเกี่ยวกับสารโพรสตาแกลนดิน (prostaglandins) ในน้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง แม้จะไม่ใช่สาเหตุหลักของอาการ แต่อาจส่งผลต่อการบีบตัวของมดลูกและรบกวนปริมาณประจำเดือน อย่างไรก็ตาม หากไม่ดื่มมากจนเกินไป น้ำมะพร้าวนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะอุดมไปด้วยเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สาว ๆ หลายคนน่าจะหายข้องใจเกี่ยวกับความเชื่อผิด ๆ กันแล้วและได้รับความรู้ใหม่เกี่ยวกับการรับประทานอาหารในช่วงเป็นประจำเดือนที่เรานำมาฝาก และอย่าลืมดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ
บทความโดย พญ.อสมา วาณิชตันติกุล
ที่มา : MedPark Hospital
รูปภาพจาก: Sanook
4 ก.ย. 2567
30 ต.ค. 2567
15 ต.ค. 2567
1 ต.ค. 2567