บอกลาแผลคีลอยด์ เผยผิวอย่างมั่นใจอีกครั้ง

Last updated: 14 มิ.ย. 2567  |  203 จำนวนผู้เข้าชม  | 

บอกลาแผลคีลอยด์ เผยผิวอย่างมั่นใจอีกครั้ง

เมื่อพูดถึงแผลเป็นคีลอยด์ เชื่อว่าคงมีหลาย ๆ ท่านที่เคยสูญเสียความมั่นใจเพราะรอยแผลเป็นนี้มาแล้ว เพราะนอกจากจะส่งผลต่อความสวยงามแล้ว ยังมีอาการไม่พึงประสงค์ร่วมด้วย เช่น อาการคันและเจ็บที่แผล แม้ว่าแผลเป็นคีลอยด์จะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่สามารถส่งผลกระทบต่อความสวยงามและสภาพจิตใจได้ค่ะ

ถ้าอย่างนั้น เรามาทำความรู้จักแผลเป็นคีลอยด์ อาการ วิธีป้องกัน และวิธีการรักษาไปพร้อม ๆ กันค่ะ


แผลเป็นคีลอยด์
คีลอยด์ (Keloid) คือ แผลเป็นชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเด่นคือการนูนและหนาขึ้นจากผิวหนัง สามารถขยายตัวใหญ่กว่าบาดแผลเดิมที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นบาดแผลเล็กหรือใหญ่ ก็มีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นคีลอยด์ได้เสมอ อย่างไรก็ตาม บางบริเวณของร่างกายมีแนวโน้มที่จะเกิดคีลอยด์มากกว่าบริเวณอื่น เช่น ติ่งหู ไหล่ แก้ม และหน้าอก


แผลเป็นคีลอยด์ อันตรายไหม ?

แผลเป็นคีลอยด์ไม่เป็นอันตราย แต่ส่งผลต่อความสวยงาม จนอาจทำให้ขาดความมั่นใจในการเผยผิว หลายคนจึงพยายามรักษาและป้องกันไม่ให้แผลเป็นคีลอยด์ขยายใหญ่ขึ้นค่ะ


แผลเป็นคีลอยด์มักเกิดกับใคร
·       ผู้ที่มีผิวสีเข้ม เช่น คนแอฟริกา และคนเอเชีย
·       ผู้ที่มีประวัติเป็นแผลเป็นคีลอยด์ หรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นแผลเป็นคีลอยด์
·       หญิงตั้งครรภ์จะมีโอกาสเป็นคีลอยด์มากกว่าหญิงปกติ ในขณะที่หญิงที่เข้าสู่วัยทองจะมีโอกาสเกิดคีลอยด์ได้น้อยลง


อาการของแผลเป็นคีลอยด์
·         เป็นก้อนนูนขึ้นจากผิวหนัง มักเกิดบริเวณติ่งหู หัวไหล่ แก้มหรือหน้าอก
·         รู้สึกระคายเคืองบริเวณแผลเป็น
·         รู้สึกคันหรือแสบร้อนได้


วิธีป้องกันแผลเป็นคีลอยด์
·         ดูแลบาดแผลให้สะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ การใช้ยาหรือครีมที่ช่วยในการสมานแผลอย่างเหมาะสมจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดคีลอยด์ได้
·         ระวังอย่าให้เกิดบาดแผล เมื่อเป็นแผลควรรีบทำการรักษาทันที


การรักษารอยแผลเป็นชนิดนูนหรือแผลเป็นคีลอยด์

·         การฉีดยาบริเวณแผลเป็นเพื่อให้แผลเป็นราบลง ตัวยาที่ใช้ฉีดมีด้วยกันหลายตัว โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่ายาตัวไหนเหมาะกับผู้ป่วยมากที่สุด
·         การผ่าตัดเอาแผลเป็นคีลอยด์ออก หลังจากการผ่าตัดแพทย์จะฉีดยาเข้าไปที่บริเวณแผลเป็นเพื่อไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ
·         การใช้แผ่นซิลิโคนแปะรอยแผลเป็นเพื่อลดการอักเสบและอาการคัน
·         การจี้ด้วยความเย็น
·         การรักษาด้วยเลเซอร์
·         การทาครีมหลังการผ่าตัด


สำหรับใครที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดรอยแผลเป็นนูน คียลอยด์ทั้งเก่าและใหม่ให้จางและนุ่มลง เว็บไซต์ของเรามีจำหน่ายนะคะ
·         Actewound Sheet / Roll แผ่นแปะซิลิโคน
·         CICA CARE Silicone Gel sheet แผ่นแปะซิลิโคน
·         Actewound Si Gel เจลซิลิโคนเกรดทางการแพทย์
ผู้ที่มีรอยแผลเป็นนูน คีลอยด์ควรใช้แผ่นแปะแผ่นซิลิโคนอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง โดยปิดทับที่แผลโดยตรง เพื่อไม่ให้เซลล์ขยายยืดตัว โดยแผ่นแปะจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นด้วยค่ะ


ดังนั้น หากดูแลรักษาและป้องกันแผลเป็นอย่างเหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดคีลอยด์ได้นะคะ แนะนำให้รักษาหลายวิธีร่วมกัน เพื่อได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น แม้จะยังไม่เรียบเนียนเหมือนผิวปกติ แต่รอยแผลเป็นจะดูจางลง และเรียกความมั่นใจกลับคืนมาได้อย่างแน่นอนค่ะ

 หวังว่าข้อมูลดี ๆ ที่เว็บไซต์ของเรานำมาฝากในวันนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่เผชิญปัญหาแผลเป็นคีลอยด์ รวมถึงแผลเป็นชนิดอื่น ๆ ด้วยนะคะ และหวังว่าทุกท่านจะหายจากรอยแผลเป็นและกลับมาใช้ชีวิตได้ด้วยความมั่นใจอีกครั้งค่ะ

 
ที่มา: โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต , V Square Clinic
รูปภาพจาก: Bangkok Well Being

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้