Last updated: 18 ส.ค. 2567 | 137 จำนวนผู้เข้าชม |
เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งการนอนติดเตียงสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุทุกคนหรือผู้ป่วยที่มีสภาพร่างกายเสื่อมโทรมจนต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา และไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ บางรายอาจขยับร่างกายบางส่วนได้บ้าง ในขณะที่บางรายอาจไม่รู้สึกตัวเลย ซึ่งสร้างความทุกข์ทรมานให้แก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ดังนั้น เรื่องที่ต้องให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าเรื่องอื่น ๆ ในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยติดเตียง คือเรื่องของอาหารค่ะ
อาหารสำหรับผู้ป่วยติดเตียงมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการฟื้นฟู การรักษา และการเพิ่มพลังงานให้กับผู้ป่วย นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มความต้านทานต่อการติดเชื้อและการเกิดโรคต่าง ๆ เพราะผู้ป่วยติดเตียงมักมีภาวะแทรกซ้อนจากการนอนติดเตียงได้ง่าย ดังนั้น ผู้ดูแลจึงควรให้ความสำคัญและใส่ใจในเรื่องอาหารเป็นอย่างมาก
ในบทความนี้ เรามาทำความรู้จักกับอาหารสำหรับผู้ป่วยติดเตียงแต่ละประเภทกันค่ะ
ประเภทอาหารสำหรับผู้ป่วยติดเตียง
1.อาหารเหลวผู้ป่วยติดเตียง
อาหารเหลวผู้ป่วยติดเตียง เป็นอาหารที่มีความอ่อนนุ่ม ย่อยง่าย ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารเพียงพอ สำหรับอาหารเหลวที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยติดเตียง จะมีตั้งแต่น้ำผลไม้สด น้ำซุปผัก น้ำซุปปลา น้ำซุปเนื้อ และอาหารเหลวอื่น ๆ ที่มีโปรตีนสูง เช่น น้ำตาลทานตะวัน น้ำผึ้ง น้ำสมุนไพร เป็นต้น
2.อาหารปั่นผู้ป่วยติดเตียง
อาหารปั่นผู้ป่วยติดเตียง คือการนำอาหารปรุงสุกมาปั่นจนละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถรับประทานหรือกลืนได้ง่ายขึ้น ถือว่าเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยติดเตียง เพราะช่วยลดความเสี่ยงในการสำลัก และป้องกันไม่ให้อาหารติดคอผู้ป่วย
3.อาหารเสริมผู้ป่วยติดเตียง
อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยติดเตียง เป็นอาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้ป่วย อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วยได้รับพลังงานและสารอาหารที่เพียงพอสำหรับการฟื้นฟูสุขภาพ
ผู้ดูแลไม่เพียงแต่ต้องทำความรู้จักกับประเภทอาหารของผู้ป่วยติดเตียง แต่ยังต้องพึงระวังปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในขณะผู้ป่วยรับประทานอาหาร ดังนี้ค่ะ
สิ่งที่ต้องระวังในการให้อาหารผู้ป่วยติดเตียง
ถือได้ว่าอาหารสำหรับผู้ป่วยติดเตียง มีความสำคัญต่อตัวผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เพราะมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูร่างกาย บำรุงร่างกาย และช่วยในเรื่องสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ดังนั้นผู้ป่วยติดเตียงควรได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และครบ 5 หมู่ ในทุกมื้อ
หากใครกำลังมองหาอาหารสำหรับผู้ป่วยที่พร้อมไปด้วยพลังงาน สารอาหารและคุณประโยชน์อย่างครบถ้วน เรามีจำหน่าย NUTRIPACK อาหารเหลวปั่นผสม สูตรทูน่า และสูตรไก่ไม่เติมน้ำตาล สามารถรับประทานได้ทั้งแบบซุปและทางสายยางเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับพลังงานและสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างครบถ้วนตามหลักโภชนาการค่ะ
นอกจากเรื่องการรับประทานอาหารแล้ว ผู้ป่วยติดเตียงต้องได้รับการเฝ้าระวังเป็นพิเศษในเรื่องของการดูแลสุขภาพตั้งแต่เรื่อง การทำความสะอาดร่างกาย การทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนการตรวจสุขภาพ ดังนั้นผู้ดูแลและสมาชิกในครอบครัวควรให้เวลาดูแลเอาใจใส่ พูดคุยสนทนา หรือทำกิจกรรมที่ผู้ป่วยมีความสุข เพื่อลดความเครียด และให้ผู้ป่วยมีกำลังใจในการต่อสู้ต่อกับภาวะติดเตียงต่อไปค่ะ
บทความโดย: Bangkok Well Being
ที่มา: โรงพยาบาลบีเอ็นเอช , modernform health&care
รูปภาพจาก: Bangkok Well Being
30 ต.ค. 2567
4 ก.ย. 2567
1 ต.ค. 2567
15 ต.ค. 2567