การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค
- เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลาก (แสดงข้อความให้ครบถ้วน เช่น ชื่อ ที่อยู่ผู้ผลิตหรือนำเข้า วิธีใช้การเก็บรักษา คำเตือน การแก้พิษเบื้องต้น)
- มีข้อความระบุ ว่าสามารถ “ฆ่าเชื้อโรค” “ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย” หรือ “ฆ่าเชื้อไวรัส”
- มีสารสำคัญเป็นสารฆ่าเชื้อ เช่น เอทิลแอลกอฮอล์ ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ โซเดียมไฮโปคลอไรท์ คลอโรไซลีนอล อัลคิลไดเมทิลเบนซิล แอมโมเนียคลอไรด์ (หรือเบนซัลโคเนียมคลอไรด์)
- เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีภาชนะบรรจุอยู่ในสภาพเรียบร้อย (ไม่มีรอยรั่วซึม ผลิตภัณฑ์ฉีดพ่นไม่ควรมีของเหลวซึมบริเวณที่กดหัวฉีด)
- เลือกใช้ผลิตภัณฑ์รูปแบบสเปรย์ฉีดพ่นเท่าที่จำเป็น (ละอองฝอยทำให้เรามีโอกาสได้รับสารเคมี ทางการหายใจ หรือผิวหนังได้มากขึ้น เวลาใช้ต้องปฎิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด)
- พึงระวังคำโฆษณาว่า “ปลอดภัย” หรือ “ไม่เป็นพิษ” (สารเคมีทุกชนิดก่อให้เกิดอันตรายได้ หากใช้โดยขาดความระมัดระวัง ความเป็นอันตรายมากน้อยจะแตกต่างกันไปตามชนิดของสารเคมี)
- มีเลขทะเบียนวัตถุอันตรายในกรอบเครื่องหมาย อย.วอส. เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายจาก อย.
การใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคบนพื้นผิวต่าง ๆ
- แอลกอฮอล์ 70% เหมาะสำหรับพื้นผิวโลหะ
- น้ำยาฟอกขาว หรือสารโซเดียมไฮโปคลอไรด์ 1 ส่วน ต่อน้ำ 10 ส่วน เหมาะสำหรับพื้นผิวที่มีละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย
- ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (3% H202) 1 ส่วน ต่อน้ำ 5 ส่วน แต่ต้องระวังการกัดกร่อนพื้นผิว และการสัมผัสของร่างกาย
*** การทำความสะอาด ควรทำอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง หรือทำทุก ๆ 1 ชั่วโมงในจุดที่มีการสัมผัสบ่อย ๆ เช่น อุปกรณ์สำนักงาน มือจับประตู ลูกบิด เป็นต้น
นำผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคหลายชนิดมาผสมกันโดยเด็ดขาด เพราะอาจเกิดอันตรายหรือลดประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อ และห้ามนำมาเช็ดทำความสะอาดผิวหนังโดยเด็ดขาด *
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา