การตรวจสารเสพติดมีกี่วิธี ซื้อชุดตรวจได้ที่ไหน ?

Last updated: 1 ต.ค. 2567  |  71 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วิธีการตรวจสารเสพติด

ปัจจุบันยาเสพติดยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง เพราะราคาที่ถูกลงจึงสามารถซื้อขายได้ง่ายขึ้น ซึ่งนับว่าส่งผลกระทบอย่างมหาศาล ทั้งต่อตนเอง สังคม และเศรษฐกิจในภาพรวม อีกทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ในสังคมอีกด้วย ดังนั้น การตรวจพบสารเสพติดในร่างกายได้เร็ว ทำให้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม และถือเป็นการช่วยลดปัญหาทางสังคมได้อีกด้วย

หากกล่าวถึงการตรวจสารเสพติด หลายคนอาจไม่คุ้นเคยกับวิธีการตรวจ และอาจสงสัยว่าควรใช้วิธีการตรวจแบบใด ดังนั้น ในบทความนี้ได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสารเสพติดมาให้ทุกท่านได้อ่านค่ะ

ตรวจสารเสพติด ตรวจอะไรบ้าง?
การตรวจสารเสพติดสามารถตรวจได้หลายรายการ ดังนี้

  • แอมเฟตามีน (Amphetamine) เป็นสารเสพติดที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้ไม่รู้สึกอ่อนเพลีย แต่เมื่อยาหมดฤทธิ์จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียมาก และเกิดอาการซึมเศร้า
  • เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) เป็นสารเสพติดส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง สามารถนำมาใช้ในการรักษาอาการจิตเวชบางชนิดได้ แต่ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ เนื่องจากมีผลข้างเคียงสูงมากหากใช้ผิดวิธี เช่น อาจได้ยินเสียงที่ไม่มีอยู่จริง หรือหลอนประสาท เป็นต้น
  • เบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine) หรือ “ยาเสียสาว” เป็นยารักษาอาการทางจิตเวชชนิดหนึ่ง มีผลเปลี่ยนแปลงสารสื่อประสาท และอาจทำให้เสียความสามารถในการตัดสินใจได้
  • บาร์บิทูเรต (Barbiturate) เป็นหนึ่งในยาที่เคยใช้สำหรับคลายกังวล และรักษาอาการนอนไม่หลับ แต่ปัจจุบันยกเลิกการใช้แล้วเนื่องจากมีผลข้างเคียงสูงหากนำไปใช้ผิดวิธี เช่น พูดลิ้นพัน ง่วงซึม หยุดหายใจขณะนอนหลับ เป็นต้น
  • กัญชา (Cannabis) มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้เคลิบเคลิ้ม ผ่อนคลาย นอนหลับได้ดี แต่หากใช้ผิดวิธี หรือมากเกินไปอาจส่งผลต่อระบบความจำ ร่างกายไม่ตอบสนองตามที่สมองสั่งการ
  • โคเคน (Cocaine) เป็นสารเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทอัตโนมัติ (Sympathetic) มีฤทธิ์คล้ายกับแอมเฟตามีน แต่ออกฤทธิ์เร็วกว่าและสั้นกว่า
  • เฟนไซคลิดีน (Phencyclidine) เป็นสารมีฤทธิ์ระงับความรู้สึก มีผลข้างเคียงทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติ ตากระตุก พูดลิ้นรัว หากใช้เกินขนาดอาจทำให้ความดันสูง ชัก และเสียชีวิตได้
  • เมทาโดน (Methadone) เป็นยาบรรเทาอาการปวด และทำให้เคลิบเคลิ้มมีความสุข แต่ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น


วิธีการตรวจสารเสพติด มีอะไรบ้าง ?

(1.) ปัสสาวะ
การตรวจสารเสพติดในปัสสาวะเป็นวิธีที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด อีกทั้งผลจากการตรวจสารเสพติดจากปัสสาวะยังเป็นที่ยอมรับในชั้นศาลในระดับสากลอีกด้วย สามารถตรวจพบสารเสพติดในปัสสาวะ ใน 2 – 6 วัน หลังการเสพ ในผู้ที่เสพเป็นประจำ ส่วนผู้ที่เสพไม่ประจำ จะตรวจพบได้ใน 1 – 3 วัน ซึ่งสามารถตรวจได้ด้วยชุดตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ โดยใช้หลักการ อิมมูโนโครมาโตกราฟี (Immunochromatography)

(2.) เลือด
การตรวจหาสารเสพติดจากเลือดถือเป็นวิธีการตรวจที่แม่นยำมากกว่าการตรวจจากปัสสาวะ มักเป็นวิธีที่ใช้เพื่อตรวจหาการใช้สารเสพติดที่เพิ่งผ่านมาในระยะเวลาไม่นาน เนื่องจากตัวยาจะถูกดูดซึมสู่กระแสเลือดหลังจากการใช้ภายในไม่กี่ชั่วโมง ตัวอย่างสถานการณ์ที่ใช้การตรวจเลือด เช่น การตรวจในผู้ประสบอุบัติเหตุ ซึ่งคาดว่ามีสาเหตุมาจากการใช้สารเสพติด เป็นต้น
อ้างอิง : วิธีตรวจสารเสพติด แบบไหนแม่นยำที่สุด? - ภูฟ้าเรสท์โฮม (phufaresthome.com)

(3.) เส้นผม / เส้นขน
การตรวจหาสารเสพติดจากเส้นผมมีข้อดีหลายประการ โดยเฉพาะในการตรวจสอบการใช้สารเสพติดในระยะยาวและหาช่วงเวลาที่ใช้ได้อย่างแม่นยำ โดยปกติจะเก็บตัวอย่างเส้นผมจากด้านหลังศีรษะซึ่งจะใช้กรรไกรตัดให้ใกล้กับหนังศีรษะมากที่สุด เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สารเสพติดในช่วงเวลาล่าสุด

(4) ลมหายใจ
การทดสอบนี้มักเรียกว่า "Breathalyzer" เป็นเครื่องมือพกพาขนาดเล็กที่ใช้ตรวจหาปริมาณสารเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการคัดกรองระดับแอลกอฮอล์ในเลือด นิยมใช้ในสถานประกอบการเพื่อประเมินความพร้อมของพนักงาน นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจยังใช้เครื่องนี้ในการตรวจผู้ขับขี่ที่ต้องสงสัยว่าเมาสุรา ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก

(5) เหงื่อ
เป็นการทดสอบยารูปแบบใหม่ที่ใช้เป็นหลักในการติดตามผู้ป่วยที่กำลังพักฟื้นหรืออยู่ระหว่างการคุมประพฤติ/ทัณฑ์บน โดยจะคัดกรองยาผ่านแผ่นแปะที่ใช้กับผิวหนังของผู้ป่วยและทิ้งไว้ 14 วัน ก่อนส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อระบุผลตรวจ

ดังที่ได้กล่าวข้างต้นว่า การตรวจสารเสพติดในปัสสาวะเป็นวิธีที่นิยมและแพร่หลายที่สุด โดยทั่วไปมีการใช้ชุดตรวจอยู่ 2 รูปแบบหลัก คือ ชุดตรวจแบบจุ่มและชุดตรวจแบบตลับ ซึ่งมีลักษณะการใช้งานแตกต่างกันดังนี้

  • แบบจุ่ม (Strip)
    วิธีการใช้ชุดตรวจหาสารเสพติดแบบจุ่มจะให้ผู้เข้ารับการตรวจปัสสาวะใส่ในภาชนะที่สะอาดและแห้ง จากนั้นนำแถบทดสอบจุ่มลงในปัสสาวะโดยให้ปลายลูกศรชี้ลง ระวังไม่ให้ระดับปัสสาวะสูงเกินขีดที่กำหนดไว้บนแถบ จากนั้นให้วางแถบทดสอบในแนวราบและรอประมาณ 5 นาที จากนั้นจึงอ่านผลการตรวจ

  • แบบตลับ (Cassette)
    ในชุดตรวจสารเสพติดแบบตลับหรือแบบหยอดประกอบด้วยตลับทดสอบและหลอดหยด เริ่มโดยให้ผู้เข้ารับการตรวจปัสสาวะใส่ในภาชนะที่สะอาดและแห้ง จากนั้นวางตลับทดสอบไว้ในแนวราบ ใช้หลอดหยดดูดปัสสาวะขึ้นมา แล้วหยดลงในหลุมบนตลับทดสอบจำนวน 3 หยด จากนั้นวางตลับทดสอบไว้ในแนวราบและรอ 5 นาทีจึงอ่านผล
    การอ่านผลชุดตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะ


การอ่านผลชุดตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะ
ชุดตรวจหาสารเสพติดทั้ง 2 แบบ ใช้หลักการ Competitive binding การอ่านผลจึงต่างจากชุดตรวจครรภ์ โดยมีวิธีการอ่านผล ดังนี้

  • หากปรากฏขีดขึ้น 2 ขีดที่ T และ C แสดงว่าผลการตรวจเป็นลบ หรือไม่พบสารเสพติด
  • หากปรากฏขีดขึ้นเพียง 1 ขีดที่ C เท่านั้น แสดงว่าผลการตรวจเป็นบวก หรือพบสารเสพติด
  • หากไม่ปรากฏขีดขึ้นเลย หรือปรากฏขีดเพียง 1 ขีดที่ T แสดงว่าชุดตรวจอาจมีปัญหาและไม่สามารถอ่านผลได้

 หากกำลังมองหาชุดตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ สามารถสั่งซื้อได้ที่ร้านบางกอกเวลบีอิ้งเลยค่ะ มีทั้งราคาปลีก และราคาส่ง อีกทั้งยังมีบริการจัดส่งฟรี และมีสินค้าให้เลือกอีกมากมาย หากสนใจสอบถามและสั่งซื้อ สามารถทำการติดต่อได้เลยค่ะ

ช่องทางการติดต่อ
3/12 ถ. วุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150
Line Official: https://lin.ee/caggo7D
โทร. 080-6414556

 บทความโดย: Bangkok Well Being
ที่มา: HDmall และ Phufa Enterprise
รูปภาพจาก: Bangkok Well Being

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้