Last updated: 30 ต.ค. 2567 | 17 จำนวนผู้เข้าชม |
การหกล้มในผู้สูงอายุมีความอันตรายมากกว่าวัยอื่นหลายเท่า เนื่องจากร่างกายของผู้สูงอายุเริ่มเสื่อมสภาพ ทำให้ความแข็งแรงและการทรงตัวลดลง จึงมีความเสี่ยงที่จะหกล้มได้ง่ายกว่าวัยอื่น อีกทั้งหากผู้สูงอายุหกล้มแม้เพียงครั้งเดียว อาจส่งผลให้ผู้สูงอายุไม่สามารถดูแลตัวเองได้อีกเลย บางท่านอาจกระดูกสะโพกหัก หรือบางท่านอาจต้องใช้รถเข็นตลอดชีวิต ดังนั้น การดูแลผู้สูงอายุเพื่อไม่ให้ท่านหกล้มจึงเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจและให้ความสำคัญ เพื่อช่วยลดปัจจัยเสี่ยงและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้สูงอายุค่ะ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการหกล้มในผู้สูงอายุ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการหกล้มในผู้สูงอายุประกอบด้วยปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ดังนี้
ปัจจัยเสี่ยงภายในร่างกายของผู้สูงอายุ
1. การเปลี่ยนแปลงของสายตา: ผู้สูงอายุมักมีปัญหาสายตายาว ทำให้การคาดคะเนระยะทางผิดพลาด หรืออาจมีโรคต้อกระจกที่ทำให้มองเห็นไม่ชัดเจน ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการหกล้ม
2. ความเสื่อมของข้อต่อและเอ็น: เมื่อข้อต่อและเอ็นอ่อนแรงลง การทรงตัวของผู้สูงอายุก็ลดลงตามไปด้วย ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการหกล้ม
3. ปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะ: ผู้สูงอายุหลายท่านปัสสาวะบ่อยหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ทำให้ต้องรีบเร่งเข้าห้องน้ำ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มได้
4. โรคประจำตัวและความเจ็บป่วย: ผู้สูงอายุบางท่านป่วยเป็นโรคบางชนิด เช่น โรคหลอดเลือดสมองที่ทำให้แขนขาอ่อนแรง หรือโรคพาร์กินสันที่มีภาวะสั่น ซึ่งโรคเหล่านี้ล้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญเสียสมดุลและการหกล้ม
5. ผลกระทบจากยาบางชนิด: ยาลดความดันโลหิต ยานอนหลับ หรือยาต้านการซึมเศร้า อาจมีผลข้างเคียงที่ทำให้เสี่ยงต่อการหกล้มมากขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้สูงอายุ
สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกบ้าน เช่น พื้นบ้านที่ลื่นหรือไม่เรียบ แสงสว่างไม่เพียงพอ บันได ห้องน้ำ ห้องครัว รวมถึงการใช้รองเท้าที่ไม่เหมาะสม ล้วนเป็นปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มได้ ดังนั้น สมาชิกภายในด้านต้องใส่ใจและดูแลความเรียบร้อยอยู่เสมอเพื่อเป็นการป้องกันผู้สูงอายุเกิดอันตรายจากการหกล้ม
ผลกระทบจากการหกล้ม
อุบัติเหตุจากการหกล้มในผู้สูงอายุสามารถนำไปสู่ความเสี่ยงในการผ่าตัดเพราะกระดูกหัก และอาจส่งผลให้เกิดภาวะติดเตียงตามมา ซึ่งเพิ่มอัตราการเสียชีวิตในผู้สูงอายุอีกด้วย ดังนั้น การหกล้มเพียงครั้งเดียวก็สามารถทำให้เกิดความเสี่ยงสูง และอาจนำไปสู่โรคหรือภาวะอื่น ๆ ตามมาได้อย่างมากมาย
วิธีการป้องกัน
1. ส่งเสริมการออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุ
ควรเลือกท่าทางที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความยืดหยุ่นของกระดูกและข้อต่อ รวมถึงการพัฒนาการทรงตัวและการเดิน โดยการออกกำลังกายควรเลือกให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้สูงอายุแต่ละท่าน ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นและลดความเสี่ยงต่อการหกล้มการหกล้มถือเป็นปัญหาสำคัญในผู้สูงอายุที่มีผลกระทบหลายด้าน ดังนั้น การที่สมาชิกในบ้านหรือบุคคลใกล้ตัวของผู้สูงอายุใส่ใจและให้ความสำคัญกับการดูแลท่านอย่างใกล้ชิด จึงเป็นการช่วยลดอุบัติเหตุและสามารถช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับผู้สูงอายุได้ค่ะ
บทความโดย: Bangkok Well Being
ที่มา: RAMA CHANNEL
รูปภาพจาก: Bangkok Well Being
4 ก.ย. 2567
18 ส.ค. 2567
15 ต.ค. 2567
1 ต.ค. 2567