เตรียมตัวให้พร้อม! คู่มือเบื้องต้นสำหรับดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยในยามเกิดภัยพิบัติ

Last updated: 10 เม.ย 2568  |  47 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ดูแลผู้สูงอายุ เหตุฉุกเฉิน

เมื่อเกิดภัยพิบัติ ไม่ว่าจะน้ำท่วม ไฟไหม้ พายุ หรือแผ่นดินไหวที่เพิ่งเกิดในไทยเมื่อ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา กลุ่มบุคคลที่น่าเป็นห่วง คือ “กลุ่มเปราะบาง” อย่างผู้สูงอายุและผู้ป่วย เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายด้าน ทั้งร่างกาย สุขภาพ และการเข้าถึงความช่วยเหลือ

การเตรียมตัวล่วงหน้าให้พร้อม จึงไม่ใช่แค่เรื่องของความสะดวก แต่คือการ “ปกป้องชีวิต” ดังนั้น บทความนี้จะพาทุกท่านมาทำความเข้าใจในสิ่งที่ควรทำและเตรียมไว้ เพื่อดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยให้ปลอดภัยเมื่อเกิดภัยพิบัติหรือเกิดเหตุไม่คาดฝัน

ทำไมผู้ป่วยและผู้สูงอายุจึงต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ?

  • ข้อจำกัดด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
    ผู้สูงอายุจำนวนมากมีปัญหาด้านการเดิน เคลื่อนไหวช้า หรือจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า หรือวีลแชร์ ซึ่งทำให้การอพยพหนีภัยเป็นเรื่องลำบากกว่าคนทั่วไป
  •  โรคประจำตัวและสุขภาพเปราะบาง
    โรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน ความดัน หัวใจ หรือโรคไต ต้องการการดูแลต่อเนื่อง และไม่สามารถขาดยารักษาได้
  • ภาวะสับสน ความจำเสื่อม หรือการรับรู้ช้าลง
    โดยเฉพาะในผู้ป่วยสมองเสื่อม อาจไม่เข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หรือจดจำขั้นตอนการเอาตัวรอดไม่ได้


สิ่งที่ควรเตรียมล่วงหน้าอย่างรอบคอบ

  1. เอกสารสำคัญที่ควรเก็บให้หยิบง่าย
    • บัตรประชาชน / สำเนาทะเบียนบ้าน
    • สมุดเวชระเบียน หรือเอกสารเกี่ยวกับสุขภาพ
    • รายชื่อยาและวิธีการใช้
    • รายชื่อบุคคลติดต่อฉุกเฉิน พร้อมเบอร์โทรศัพท์
  2. ยาประจำตัวและอุปกรณ์ทางการแพทย์
    • ยาสำคัญที่ต้องกินประจำ (สำรองอย่างน้อย 7-14 วัน)
    • เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เครื่องวัดความดัน เครื่องพ่นยา เครื่องวัดน้ำตาล
    • อุปกรณ์ช่วยเคลื่อนไหว เช่น วีลแชร์ ไม้เท้า
    • ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ หน้ากากอนามัย และเจลแอลกอฮอล์
  3. อาหารและน้ำดื่มที่เหมาะกับผู้สูงอายุ
    • อาหารที่พร้อมทาน ไม่ต้องปรุง
    • อาหารเฉพาะโรค เช่น อาหารเบาหวาน อาหารทางสาย
    • น้ำดื่มอย่างน้อย 2 ลิตรต่อคนต่อวัน
    • อุปกรณ์พื้นฐาน เช่น ช้อน ถ้วย แก้ว ถุงขยะ ถุงซิปล็อก
  4. เสื้อผ้าสำรองและอุปกรณ์สำหรับอาบน้ำ
    • ชุดสำรองที่สามารถสวมใส่ง่าย
    • ผ้าขนหนูผืนเล็ก
    • อุปกรณ์สำหรับอาบน้ำ เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่


การวางแผนรับมือภัยพิบัติภายในครอบครัว

1. ซักซ้อมแผนอพยพกับคนในบ้าน
กำหนดบทบาทของแต่ละคนให้ชัดเจน เช่น ใครเป็นผู้พาผู้สูงอายุออกจากบ้าน ใครเป็นผู้หยิบกระเป๋าฉุกเฉินที่จัดเตรียมสิ่งของจำเป็นสำหรับยังชีพ หรือใครประสานงานหน่วยงานช่วยเหลือ

2. วางเส้นทางหนีภัยที่เหมาะสม
หลีกเลี่ยงบันไดสูง ทางเดินแคบ หรือจุดที่มีสิ่งกีดขวาง หากจำเป็นควรติดตั้งราวจับหรือทางลาดไว้ล่วงหน้า

3. แจ้งข้อมูลต่อหน่วยงานในพื้นที่
โทรแจ้งหน่วยงานท้องถิ่นหรือหน่วยงานช่วยเหลือ หากรู้ว่ามีผู้สูงอายุและผู้ป่วยในบ้าน เพื่อรับการช่วยเหลือเป็นลำดับต้น ๆ เมื่อเกิดเหตุ 
              - 1669 ติดต่อหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
              - 191 แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย
              - 199 แจ้งเหตุไฟไหม้
              - 1196 แจ้งอุบัติเหตุทางน้ำ
              - 1784 แจ้งเหตุสาธารณภัย

4. จัดทำป้ายแสดงข้อมูลติดไว้หน้าบ้านหรือในกระเป๋าฉุกเฉิน
เช่น “มีผู้ป่วยติดเตียงในบ้าน” หรือ “ผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือ” พร้อมเบอร์ติดต่อ

 

ภัยพิบัติเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การเตรียมความพร้อมสามารถช่วยให้ทุกคนผ่านพ้นเหตุการณ์นั้นไปได้อย่างปลอดภัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด และหากคุณมีบุคคลที่คุณรักอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยในบ้าน อย่ารอให้เกิดเหตุการณ์ก่อนค่อยลงมือ เพราะการเตรียมตัววันนี้ คือการดูแลชีวิตในวันข้างหน้าค่ะ

หากคุณยังไม่มีอุปกรณ์ที่ใช้ในยามฉุกเฉิน หรือไม่แน่ใจว่าควรเริ่มจากอะไร ทางร้านเรามี อุปกรณ์การแพทย์สำหรับดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วย ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ หรือชุดทำแผลปลอดเชื้อใช้ในยามฉุกเฉิน ที่คัดสรรมาแล้วว่าครบครัน ใช้งานง่าย และเหมาะกับสถานการณ์ต่าง ๆ สามารถสอบถามรายละเอียดหรือสั่งซื้อได้ผ่าน Line Official: @bangkokwellbeing หรือแวะชมได้ที่หน้าเว็บไซต์ของเราได้เลยนะคะ

 
ช่องทางการติดต่อ
3/12 ถ. วุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150
Line Official: https://lin.ee/caggo7D
โทร. 080-6414556

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้